บ่อเจ็ดลูก
โครงการ “ศึกษาการจัดการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก ให้ยั่งยืน”
มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาที่ชุมชมคนส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ร้อยละเก้าสิบเก้าที่มี
ความวิถีขนบธรรมเนียมเป็นแนวยึดที่ชัดเจน แต่พร้อมเปิดชุมชนให้ได้สังคมเข้ามาเรียนรู้วิถีชีวิต และจัด
กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ต้องการความยั่งยืนในอนาคต
โดยการจัดแยกประเภทของ
การท่องเที่ยวทั้งกิจกรรมบนบก ประเพณี-วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิต รวมถึงแหล่งท่องเที่ยว
ทางทะเล และการจัดทำโปรแกรมการท่องเที่ยวที่เหมาะสมของชุมชนรวมถึงร่วมคิดกิจกรรมสร้างสรรค์
เสริมในกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชน โดยมีวิธีดำเนินการทั้งกระบวนการที่มีส่วนร่วมของชุมชน
1. จำแนกประเภทแหล่งท่องเที่ยวที่กระจายอยู่ในชุมชน การท่องเที่ยวของชุมชนจัดแยกตาม
ประเภทแหล่งท่องเที่ยว
5 ประเภท ดังนี้
1.1 แหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติทางบก เช่น โบราณสถานบ่อเจ็ดลูก เขาช้าง
ถ้ำฤษี ถ้าลอดเสือสิ้นบาย ถ้ำทอง เป็นต้น
1.2 แหล่งท่องเที่ยวในด้านขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น กิจกรรมชักลากเรือ วันเมาลิด
วันสุนัต วันฮารีลายา เป็นต้น
1.3 แหล่งท่องเที่ยวทางด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีชีวิต เช่น การประมง การทำ
มาดอวน การทำกะปิ การเก็บหอยตะเภา การปลูกแตงโม เป็นต้น
1.4 แหล่งท่องเที่ยวด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่น การเย็บจาก การทำเสื่อ เสวียนหม้อ
ทำตุดง กำแปด และ เรือหัวโทง เป็นต้น
1.5 แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติทางทะเล เช่น ศูนย์วิจัยพัฒนาประมงชายฝั่งสตูล เกาะ
เขาใหญ่ บ่อน้ำช่องขลาด อ่าวหินงาม อ่าวก้ามปู เป็นต้น
2. เพื่อศึกษาศักยภาพและทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน ศึกษาทรัพยากรการท่องเที่ยว
ในพื้นที่ชุมชุมชนที่มีศักยภาพในการจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเดิม และที่มีแหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่มีศักยภาพ
5
ที่อยู่ในการจัดการ การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ใกล้เคียงโดยรอบชุมชน การท่องเที่ยวเชิง
วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวธรรมชาติทั้งทางบกและทางทะเล มีดังนี้
2.1 ศึกษาการจัดการท่องเที่ยวชุมชนประกอบด้วยการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ แยกการ
ท่องเที่ยวในกิจกรรมที่สนใจ เช่น การท่องเที่ยวธรรมชาติ ประเพณีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ
หัตถกรรมพื้นบ้าน ในชุมชนที่มีศักยภาพ
2.2 ศึกษาการบริการนักท่องเที่ยว และการส่งเสริมความรู้ด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
การรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชน
2.3 ศึกษาการจัดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงที่มีศักยภาพ ในการ
ขยายพื้นที่ท่องเที่ยวที่มีศักยภาพเพิ่มเติม
ผลการวิจัยเรื่อง “ศึกษาการจัดการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก ตำบล
ปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ให้ยั่งยืน” คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ตามหัวข้อดังนี้
ศึกษาและจำแนกแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน เพื่อศึกษาศักยภาพและทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน
และเสนอแนะโปรแกรมการท่องเที่ยวที่เหมาะสมในการจัดการท่องเที่ยวของชุมชน โดยสรุปเป็นภาพรวม
ได้ดังนี้
1.
การจำแนกประเภทแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน
แหล่งท่องเที่ยวของชุมชนมีหลากหลาย เป็นจุดขายที่น่าสนใจ ซึ่งจะแบ่งออกเป็นสองแหล่งใหญ่
คือ บนบกและในทะเล บนบกก็จะมี อาทิเช่น โบราณสถานบ่อเจ็ดลูกเขาช้าง หรือเขาขี้มิ้น(ขมิ้น) ถ้ำลอด
เสือสิ้นลาย ถ้ำฤาษี ถ้ำทอง หาดกะสิง หาดนุ้ย เขาหาดนุ้ย ทางทะเล เช่น ผาใช้หนี้ ศูนย์วิจัยและพัฒนา
ประมงชายฝั่งสตูล ปราสาทหินพันยอด เกาะเขาใหญ่ซึ่งจะมีทั้งจุดชมวิว น้ำทะเลใสสามารถเห็นปะการัง
7 สีได้ด้วยตาเปล่า บ่อน้ำช่องเขาขลาด คือ บ่อน้ำที่อยู่ในทะเลเมื่อน้ำทะเลขึ้นก็จะจมแต่เมื่อใดที่น้ำทะเล
ลดก็จะเห็นน้ำทะลักออก มาจากซอกหิน ชาวประมงใช้เป็นอุปโภคบริโภคเวลาค้างคืนในทะเล และจะมี
อ่าวต่าง ๆ ที่สามารถตั้งแค้มป์พักแรมได้ เช่น อ่าวโละกะระ อ่าวหินงาม อ่าวก้ามปู
(อ่าวแตหลา)
การจำแนกแหล่งท่องเที่ยวชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยแบ่ง
ประเภทแหล่งท่องเที่ยวตามลักษณะกิจกรรมท่องเที่ยวออกเป็น
5 ประเภท คือ แหล่งท่องเที่ยวประเภท
ธรรมชาติบนบก แหล่งท่องเที่ยวประเภทขนบธรรมเนียม ประเพณี
- กิจกรรมแหล่งท่องเที่ยวทางด้านของ
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีชีวิต แหล่งท่องเที่ยวทางด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติทาง
ทะเล
2.
เพื่อศึกษาศักยภาพและทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน
คณะผู้วิจัยได้ศึกษาศักยภาพและทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน โดยการศึกษาข้อมูลของ
ชุมชน ประกอบด้วย สัมภาษณ์ผู้นำในชุมชน ประธานกลุ่ม ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มต่าง ๆ ใน
ด้านศาสนา ด้านหัตถกรรมฯ ด้านประมงพื้นบ้าน ด้านธุรกิจให้บริการที่พักนักแก่ท่องเที่ยว รวมถึงกลุ่ม
ประชาชนที่มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน
3.
การจัดทำโปรแกรมการท่องเที่ยวชุมชน
จากแนวทางการรวบรวมข้อมูลของคณะผู้วิจัย ทั้งด้าน สถานที่ ทรัพยากร และแหล่งท่องเที่ยว
ในชุมชนมีอีกหลายจุดที่ดีเด่น สามารถนำมาบูรณาการกิจกรรมเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
ของชุมชน โดยกำหนดเป็นชื่อโปรแกรมที่สร้างสรรค์ เห็นภาพกิจกรรมสร้างความสนใจให้ร่วมในกิจกรรม
ตัวอย่างเช่น โปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์“ตะลุยโคลน กระโจนทะเล” และ โปรแกรมการท่องเที่ยว
“ชุมชนอนุรักษ์ วิถีชีวิตยั่งยืน”
ที่จะสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวที่มีเที่ยวแล้วเข้าใจได้ความรู้
ควบคู่ความสุขใจในการมาท่องเที่ยวในดินแดงนี้ในแต่ละครั้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น