วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บ่อ 7 ลูก หมวดภาษาอังกฤษ แปลไทย

บ่อเจ็ดลูก
                บ้านบ่อเจ็ดลูกตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล เป็นหมู่บ้านที่ติดกับทะเลอันดามัน คนในชุมชนยึดอาชีพประมงเป็นหลัก รองลงมาคืออาชีพค้าขาย อยู่ห่างไกลจากชุมชน ห่างจากอำเภอละงูประมาณ 18 กิโลเมตร เป็นชุมชนชนบท ชาวบ้านในชุมชนเป็นคนมีน้ำใจ เป็นกันเอง มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อัธยาศัยไมตรีที่ดีต่อผู้พบเห็น การเป็นอยู่เรียบ ชาวใช้หลักการทางศาสนาอิสลามเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
                1. อดีตอันยาวนานยังมีชาวเลตีนแดงเผ่ามอแกนซึ่งอาศัยไม่ค่อยเป็นหลักแหล่งได้เดินทางมา ณ ที่เกาะหนึ่งซึ่งเป็นเกาะเล็กๆอยู่ทางตอนใต้ของทะเลอันดามัน และได้เดินหาน้ำดื่ม จนเกิดเป็นตำนานเจ็ดบ่อขึ้นมา แต่จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่านั้นบอกว่ามีสามตำนานด้วยกันที่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าเรื่องไหนคือเรื่องที่ถูกต้องที่สุด
                2. ชาวเลเมื่อเดินหาน้ำดื่มจนมาพบบ่อน้ำผุดมาจากใต้ดินจำนวน 7 บ่อด้วยกัน บ่อแรกใหญ่หน่อยเรียกกันว่าบ่อพ่อ ที่เหลือก็เป็นบ่อแม่และบ่อลูก ขนาดลดหลั่นกันไป เชื่อกันว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
                3. เมื่อชาวเลต้องการน้ำก็ได้ทำการขุดบ่อน้ำขึ้นมา 1 บ่อ ใช้มาตลอดจนกระทั่งมีลูกจำนวน 6 คน จำนวนคนในครอบครัวเพิ่มขึ้นจึงใช้กันไม่พอเกิดมีปากเสียงกัน พ่อก็เรียกลูกมาปรึกษาหารือจนมีข้อสรุปว่าให้แต่ละคนขุดบ่อมาคนละบ่อ ขุดใกล้ๆกับพ่อนี่แหละ จาก 1 บ่อ ก็เป็น 7 บ่อ
                4. ชาวเลเมื่อได้รอนแรมมาพักที่เกาะแห่งนี้ ก็ได้ตั้งรกรากที่นี่ และได้ขุดบ่อน้ำเพื่อใช้กัน บ่อแรกที่ขุดพบว่าน้ำเค็มใช้ไม่ได้ก็ขุดต่ออีกก็เค็มอีก จนขุดมาจนถึงบ่อที่ 7 ปรากฏว่า น้ำจืด จึงได้ใช้กันเรื่อยมา 

               
โบราณสถานบ่อเจ็ดลูก      ปัจจุบันเนื้อที่ 2 ไร่ ได้บูรณะ ซ่อมแซมบางส่วน และจัดทำป้ายโบราณสถาน ปลูกมะพร้าวสองยอด  เขาช้าง หรือเขาขี้มิ้น (ขมิ้น)  ถ้ำลอดเสือสิ้นลาย
                เขาช้าง
                มีชายคนหนึ่งของหมู่บ้านเดินทางไปหาขมิ้นที่หมู่บ้านสนกลาง พอไปถึงเขาช้าง ก็เหมือนกับมีเทพองค์หนึ่งมาบอกกับชายคนนั้นว่า มึงไม่ต้องไปหาขมิ้น มึงไปกับกูดีกว่า  ชายคนนั้นก็เดินตามไป และชายคนที่ชวนไปได้ขุดขมิ้นให้ พอกลับถึงบ้านเปิดดูปรากฏว่า ในกระสอบที่ใส่ขมิ้นนั้นได้กลายเป็นทองไปหมด ซึ่งทำให้ชายคนนั้นเป็นคนที่ร่ำรวยในเวลาต่อมา คนในสมัยก่อนจึงเรียกภูเขานั้นว่า เขาขมิ้น ตราบจนถึงปัจจุบัน  เขาขมิ้นนี้เป็นสัญลักษณ์ของบ้านบ่อเจ็ดลูก อยู่ตรงทางเข้าบ้านบ่อเจ็ดลูก ลักษณะคล้ายกับช้างกำลังหมอบเมื่อมองออกจากบ้านบ่อเจ็ดลูก
                ถ้ำลอดเสือสิ้นลาย    ชาวบ้านในชุมชนเล่าว่า มีเสือลายพาดกลอนตัวใหญ่ เป็นเสือที่ดุร้าย และมาชอบกินแพะของชาวบ้านอยู่เป็นประจำ อาศัยอยู่ในถ้ำในหมู่บ้าน ในคืนวันหนึ่งเป็นคืนเดือนมืด ฝนตกมาก เสือตัวนี้ได้ออกมาที่คอกแพะ พวกชาวบานก็ได้ใช้ปืนยิงแต่ยิงไม่ถูก เสือได้วิ่งหลบเข้าไปในถ้ำ รออยู่นานเสือก็ไม่ออกมา ชาวบ้านเลยนำซากแพะที่ตายแล้วมาวางล่อปากถ้ำ ครู่ใหญ่ต่อมาเสือจึงออกมาอีกครั้งหนึ่ง จนในที่สุดก็สามารถยิงเสือตัวนี้ได้ รุ่งเช้าชาวบ้านแห่กันไปดูเสือว่าตายแล้วหรือยัง เพราะเสือนอนหมอบอยู่ปากถ้ำคล้ายกับว่ายังมีชีวิตอยู่  จึงเรียกบริเวณที่เสือตายนี้ว่า ถ้ำลอดเสือสิ้นลาย
                ถ้ำฤาษี                   ปี พ.ศ. 2506 มีชายคนหนึ่งชื่ออุทัย  สุวรรณฤกษ์  เป็นคนจังหวัดพัทลุง ได้เดินทางลงไปยังเกาะอาดัง เพื่อไปธุดง และอาศัยอยู่บนเกาะอาดังเป็นเวลานาน หลังจากนั้นจึงได้อพยพมาอยู่ในถ้ำบ้านบ่อเจ็ดลูก  สมัยก่อนชาวบ้านเรียกถ้ำนี้ว่า ถ้ำเสือ เมื่อนายอุทัยมาพักจำศีลที่ถ้ำแห่งนี้ จึงเรียกถ้ำนี้ว่าถ้ำฤาษี จนถึงปัจจุบัน นายอุทัยจำศีลเป็นฤาษีอยู่ในถ้ำเป็นเวลานาน  ลักษณะของถ้ำเป็นโดม ความกว้างในถ้ำประมาณ 10 X 10 เมตร ภายในถ้ำเป็นอุโมงค์มีค้างคาว มีนกเข้าไปอาศัย พื้นของถ้ำเป็นดินเหนียว ฝนตกจะไม่เปียก คนสมัยก่อนเชื่อว่าสถานตรงนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มีคนมาขอจากเจ้าที่ให้หายป่วย ให้หายเจ็บ หายไข้ เมื่อกลับไป ก็หายเป็นปลิดทิ้ง เป็นความเชื่อของชาวบ้านที่เล่าขานกันมา
                ถ้ำทอง                   ถ้ำแห่งนี้อยู่ด้านหลังโรงเรียนบ้านบ่อเจ็ดลูก ห่างจากโรงเรียนไปประมาณ 200 เมตร ด้านใน มีหินย้อย สีเหลืองอร่ามสวยงามมาก มีความกว้างประมาณ 6 เมตร สองข้างทางที่เดินเข้าไปภายในถ้ำเป็นหินย้อยอยู่ทั้ง 2 ด้าน ความยาวจากปากถ้ำจนทะลุประมาณ 15 เมตร
                                หาดนุ้ย                  เป็นชายหาดที่มีความยาว 500 เมตร เป็นหาดทรายปกคลุมด้วยป่าไม้มีทิวทัศน์ที่สวยงามเหมาะแก่การท่องเที่ยว ชายหาดมีหินสลับกันทั้งก้อนเล็กก้อนใหญ่ คนในสมัยก่อนเมื่อหาหอยแล้วนำมาแกะที่ตรงนี้เรียกกันว่าทับหอย      ชายหาดนุ้ยเป็นส่วนหนึ่งของหาดกะสิงเพราะมีแนวอาณาเขตติดต่อกันเพียงแต่มีเขาขวางกั้น สามารถเดินถึงกันได้เมื่อเวลาน้ำลด ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของปากน้ำรีสอร์ท
ถ้ำช้างสามเศียร
ภายในถ้้ำมีหินงอกหินย้อยรูปร่างคล้ายหัวช้าง3หัว มีสีเหลืองทองอร่ามสวยงามมาก
                                ภูมิปัญญาท้องถิ่น
                การจับปลา เพราะชาวบ้านบ่อเจ็ดลูกส่วนใหญ่มีอาชีพประมง เมื่อออกทะเลจับปลา  ชาวประมงมักดูทิศทางลม ระดับน้ำในท้องทะเล ในการวางอวนแต่ละครั้งชาวประมงจะต้องรู้ลักษณะการเดินของน้ำ ซึ่งทำให้ฝูงของปลาเปลี่ยนไป การวางอวนต้องวางแบบขวางน้ำจึงจะได้ปลาเป็นลักษณะของธรรมชาติ และต้องรู้แหล่งอาศัยของปลาแต่ละชนิด ปลามักจะอยู่ที่ดอนทราย ถ้าเป็นกุ้งมักอาศัยดินที่เป็นโคลน ชาวบ้านมักจะจำลักษณะที่อยู่ของปลา และบอกต่อกันไปสู่ลูกหลานซึ่งเป็นวิธีการหาปลาของคนสมัยก่อนที่ใช้กันมา แต่ถ้าเป็นในปัจจุบันการจับปลาในเชิงพาณิชย์มักใช้ดาวเทียมค้นหาที่อยู่ของฝูงปลา และสามารถจับได้ง่าย
               
นวดแผนโบราณ ผู้มีความรู้ในด้านนี้มีอยู่ 2 คน คือ นายถวิล หมันดี และนายรอเฉด ขุนพล ทั้งสองเป็นคนพิการทางสายตา ได้ผ่านการอบรมจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสตูล จุดประสงค์ในการนวด คือ เพื่อคลายเครียด คลายเส้น รักษาอัมพฤกษ์ รักษาโรคเมื่อย การนวดฝ่าเท้า นวดขา และนวดทั้งร่างกาย เพื่อให้เส้นตื่นตัว ค่าบริการต่อครั้ง 100 บาท ใช้เวลา 1 ชั่วโมงกับ 45 นาที

                นอกเหนือจากนั้นยังมีภูมิปัญญาในเรื่องหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่น เย็บจาก เอาใบจากมาเย็บเพื่อนำไปมุงหลังคา 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น