วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บ่อ 7 ลูก หมวดภาษาอังกฤษ

 7 Well



7 well is M.1 Parknam district, Langu, Satun.  The village to the Andaman sea,  People in the fishing community. Followed by trade professionals.7 well  Away from the community. About 18 kilometers 
away from La-ngu district. This is A rural community, People in the community as a generous and friendly hospitality. 
Amongst the best witness. Being simple. The principles of Islam as a way of life.

The Legend of 7 Well


                1.The fishermen have long trunked Moken tribe which inhabited  the residence has not arrived at the island, a small island just south of the Andaman Sea. And the drinking water. And the Legend of the seven wells. But the story of an old legend that says that there are three that can’t guarantee that it is the most accurate.
       2. The fishermen until the water springing from underground wells, 7 wells with my first big pond known as the father. The rest is water and the pond. Size in descending order. Believed to be a sacred place.


 
The Legend of 7 Well

     3. Fishermen can be used to dig up a pond until there were 6 people in a family increases, so do not use the same arguments. 
I called her to discuss the conclusions that each.
Dig a pond to another pond. 
Excavation of a pond near my father's seven wells.
     4. Sunrise on a hitchhiking trip to this island. I settled here. 
And dig for it. The first wells were dug, they dug the salt is not as salty as it is. The seven wells dug until the water has been used ever since







บ่อ 7 ลูก หมวดสังคม

    บ่อเจ็ดลูก
         โครงการ ศึกษาการจัดการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก ให้ยั่งยืน
มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาที่ชุมชมคนส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ร้อยละเก้าสิบเก้าที่มี
ความวิถีขนบธรรมเนียมเป็นแนวยึดที่ชัดเจน แต่พร้อมเปิดชุมชนให้ได้สังคมเข้ามาเรียนรู้วิถีชีวิต และจัด
กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ต้องการความยั่งยืนในอนาคต โดยการจัดแยกประเภทของ
การท่องเที่ยวทั้งกิจกรรมบนบก ประเพณี-วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิต รวมถึงแหล่งท่องเที่ยว
ทางทะเล และการจัดทำโปรแกรมการท่องเที่ยวที่เหมาะสมของชุมชนรวมถึงร่วมคิดกิจกรรมสร้างสรรค์
เสริมในกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชน โดยมีวิธีดำเนินการทั้งกระบวนการที่มีส่วนร่วมของชุมชน
ในการจัดการข้อมูลด้านการท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

  
1. จำแนกประเภทแหล่งท่องเที่ยวที่กระจายอยู่ในชุมชน การท่องเที่ยวของชุมชนจัดแยกตาม
ประเภทแหล่งท่องเที่ยว 5 ประเภท ดังนี้
1.1 แหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติทางบก เช่น โบราณสถานบ่อเจ็ดลูก เขาช้าง
ถ้ำฤษี ถ้าลอดเสือสิ้นบาย ถ้ำทอง เป็นต้น
1.2 แหล่งท่องเที่ยวในด้านขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น กิจกรรมชักลากเรือ วันเมาลิด
วันสุนัต วันฮารีลายา เป็นต้น
1.3 แหล่งท่องเที่ยวทางด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีชีวิต เช่น การประมง การทำ
มาดอวน การทำกะปิ การเก็บหอยตะเภา การปลูกแตงโม เป็นต้น
1.4 แหล่งท่องเที่ยวด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่น การเย็บจาก การทำเสื่อ เสวียนหม้อ
ทำตุดง กำแปด และ เรือหัวโทง เป็นต้น
1.5 แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติทางทะเล เช่น ศูนย์วิจัยพัฒนาประมงชายฝั่งสตูล เกาะ
เขาใหญ่ บ่อน้ำช่องขลาด อ่าวหินงาม อ่าวก้ามปู เป็นต้น
2. เพื่อศึกษาศักยภาพและทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน ศึกษาทรัพยากรการท่องเที่ยว
ในพื้นที่ชุมชุมชนที่มีศักยภาพในการจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเดิม และที่มีแหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่มีศักยภาพ
5
ที่อยู่ในการจัดการ การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ใกล้เคียงโดยรอบชุมชน การท่องเที่ยวเชิง
วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวธรรมชาติทั้งทางบกและทางทะเล มีดังนี้
2.1 ศึกษาการจัดการท่องเที่ยวชุมชนประกอบด้วยการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ แยกการ
ท่องเที่ยวในกิจกรรมที่สนใจ เช่น การท่องเที่ยวธรรมชาติ ประเพณีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ
หัตถกรรมพื้นบ้าน ในชุมชนที่มีศักยภาพ
2.2 ศึกษาการบริการนักท่องเที่ยว และการส่งเสริมความรู้ด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
การรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชน
2.3 ศึกษาการจัดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงที่มีศักยภาพ ในการ
ขยายพื้นที่ท่องเที่ยวที่มีศักยภาพเพิ่มเติม
ผลการวิจัยเรื่อง ศึกษาการจัดการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก ตำบล
ปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ให้ยั่งยืนคณะผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ตามหัวข้อดังนี้
ศึกษาและจำแนกแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน เพื่อศึกษาศักยภาพและทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน
และเสนอแนะโปรแกรมการท่องเที่ยวที่เหมาะสมในการจัดการท่องเที่ยวของชุมชน โดยสรุปเป็นภาพรวม
ได้ดังนี้
1. การจำแนกประเภทแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน
แหล่งท่องเที่ยวของชุมชนมีหลากหลาย เป็นจุดขายที่น่าสนใจ ซึ่งจะแบ่งออกเป็นสองแหล่งใหญ่
คือ บนบกและในทะเล บนบกก็จะมี อาทิเช่น โบราณสถานบ่อเจ็ดลูกเขาช้าง หรือเขาขี้มิ้น(ขมิ้น) ถ้ำลอด
เสือสิ้นลาย ถ้ำฤาษี ถ้ำทอง หาดกะสิง หาดนุ้ย เขาหาดนุ้ย ทางทะเล เช่น ผาใช้หนี้ ศูนย์วิจัยและพัฒนา
ประมงชายฝั่งสตูล ปราสาทหินพันยอด เกาะเขาใหญ่ซึ่งจะมีทั้งจุดชมวิว น้ำทะเลใสสามารถเห็นปะการัง
7 สีได้ด้วยตาเปล่า บ่อน้ำช่องเขาขลาด คือ บ่อน้ำที่อยู่ในทะเลเมื่อน้ำทะเลขึ้นก็จะจมแต่เมื่อใดที่น้ำทะเล
ลดก็จะเห็นน้ำทะลักออก มาจากซอกหิน ชาวประมงใช้เป็นอุปโภคบริโภคเวลาค้างคืนในทะเล และจะมี
อ่าวต่าง ที่สามารถตั้งแค้มป์พักแรมได้ เช่น อ่าวโละกะระ อ่าวหินงาม อ่าวก้ามปู (อ่าวแตหลา)
การจำแนกแหล่งท่องเที่ยวชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยแบ่ง
ประเภทแหล่งท่องเที่ยวตามลักษณะกิจกรรมท่องเที่ยวออกเป็น 5 ประเภท คือ แหล่งท่องเที่ยวประเภท
ธรรมชาติบนบก แหล่งท่องเที่ยวประเภทขนบธรรมเนียม ประเพณี - กิจกรรมแหล่งท่องเที่ยวทางด้านของ
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีชีวิต แหล่งท่องเที่ยวทางด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติทาง
ทะเล
2. เพื่อศึกษาศักยภาพและทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน
คณะผู้วิจัยได้ศึกษาศักยภาพและทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน โดยการศึกษาข้อมูลของ
ชุมชน ประกอบด้วย สัมภาษณ์ผู้นำในชุมชน ประธานกลุ่ม ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มต่าง ใน
ด้านศาสนา ด้านหัตถกรรมฯ ด้านประมงพื้นบ้าน ด้านธุรกิจให้บริการที่พักนักแก่ท่องเที่ยว รวมถึงกลุ่ม
ประชาชนที่มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน
3. การจัดทำโปรแกรมการท่องเที่ยวชุมชน
จากแนวทางการรวบรวมข้อมูลของคณะผู้วิจัย ทั้งด้าน สถานที่ ทรัพยากร และแหล่งท่องเที่ยว
ในชุมชนมีอีกหลายจุดที่ดีเด่น สามารถนำมาบูรณาการกิจกรรมเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
ของชุมชน โดยกำหนดเป็นชื่อโปรแกรมที่สร้างสรรค์ เห็นภาพกิจกรรมสร้างความสนใจให้ร่วมในกิจกรรม
ตัวอย่างเช่น โปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตะลุยโคลน กระโจนทะเลและ โปรแกรมการท่องเที่ยว
ชุมชนอนุรักษ์ วิถีชีวิตยั่งยืนที่จะสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวที่มีเที่ยวแล้วเข้าใจได้ความรู้
ควบคู่ความสุขใจในการมาท่องเที่ยวในดินแดงนี้ในแต่ละครั้ง




บ่อ7ลูก หมวดภาษาไทย


หมวดภาษาไทย
อนุรักษ์ทะเล

ทะเลงาน ฟ้าคราม ล้อรักคลื่น              ทะเลตื่น รอรับคนไกลบ้าน
ทะเลโทรมด้วยน้ำมือคนรุกราน           เสียงกล่าวขาน ร้องขอจากทะเล
รักทะเลช่วยดูแลทะเลด้วย                   หาดทรายสวยจะอยู่ไม่หันเห
รักษ์ทะเลอย่าทำร้ายใจทะเล                รักทะเลรักด้วยใจใช่วาจา



บ่อ 7 ลูก หมวดภาษาอังกฤษ แปลไทย

บ่อเจ็ดลูก
                บ้านบ่อเจ็ดลูกตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล เป็นหมู่บ้านที่ติดกับทะเลอันดามัน คนในชุมชนยึดอาชีพประมงเป็นหลัก รองลงมาคืออาชีพค้าขาย อยู่ห่างไกลจากชุมชน ห่างจากอำเภอละงูประมาณ 18 กิโลเมตร เป็นชุมชนชนบท ชาวบ้านในชุมชนเป็นคนมีน้ำใจ เป็นกันเอง มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อัธยาศัยไมตรีที่ดีต่อผู้พบเห็น การเป็นอยู่เรียบ ชาวใช้หลักการทางศาสนาอิสลามเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
                1. อดีตอันยาวนานยังมีชาวเลตีนแดงเผ่ามอแกนซึ่งอาศัยไม่ค่อยเป็นหลักแหล่งได้เดินทางมา ณ ที่เกาะหนึ่งซึ่งเป็นเกาะเล็กๆอยู่ทางตอนใต้ของทะเลอันดามัน และได้เดินหาน้ำดื่ม จนเกิดเป็นตำนานเจ็ดบ่อขึ้นมา แต่จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่านั้นบอกว่ามีสามตำนานด้วยกันที่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าเรื่องไหนคือเรื่องที่ถูกต้องที่สุด
                2. ชาวเลเมื่อเดินหาน้ำดื่มจนมาพบบ่อน้ำผุดมาจากใต้ดินจำนวน 7 บ่อด้วยกัน บ่อแรกใหญ่หน่อยเรียกกันว่าบ่อพ่อ ที่เหลือก็เป็นบ่อแม่และบ่อลูก ขนาดลดหลั่นกันไป เชื่อกันว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
                3. เมื่อชาวเลต้องการน้ำก็ได้ทำการขุดบ่อน้ำขึ้นมา 1 บ่อ ใช้มาตลอดจนกระทั่งมีลูกจำนวน 6 คน จำนวนคนในครอบครัวเพิ่มขึ้นจึงใช้กันไม่พอเกิดมีปากเสียงกัน พ่อก็เรียกลูกมาปรึกษาหารือจนมีข้อสรุปว่าให้แต่ละคนขุดบ่อมาคนละบ่อ ขุดใกล้ๆกับพ่อนี่แหละ จาก 1 บ่อ ก็เป็น 7 บ่อ
                4. ชาวเลเมื่อได้รอนแรมมาพักที่เกาะแห่งนี้ ก็ได้ตั้งรกรากที่นี่ และได้ขุดบ่อน้ำเพื่อใช้กัน บ่อแรกที่ขุดพบว่าน้ำเค็มใช้ไม่ได้ก็ขุดต่ออีกก็เค็มอีก จนขุดมาจนถึงบ่อที่ 7 ปรากฏว่า น้ำจืด จึงได้ใช้กันเรื่อยมา 

               
โบราณสถานบ่อเจ็ดลูก      ปัจจุบันเนื้อที่ 2 ไร่ ได้บูรณะ ซ่อมแซมบางส่วน และจัดทำป้ายโบราณสถาน ปลูกมะพร้าวสองยอด  เขาช้าง หรือเขาขี้มิ้น (ขมิ้น)  ถ้ำลอดเสือสิ้นลาย
                เขาช้าง
                มีชายคนหนึ่งของหมู่บ้านเดินทางไปหาขมิ้นที่หมู่บ้านสนกลาง พอไปถึงเขาช้าง ก็เหมือนกับมีเทพองค์หนึ่งมาบอกกับชายคนนั้นว่า มึงไม่ต้องไปหาขมิ้น มึงไปกับกูดีกว่า  ชายคนนั้นก็เดินตามไป และชายคนที่ชวนไปได้ขุดขมิ้นให้ พอกลับถึงบ้านเปิดดูปรากฏว่า ในกระสอบที่ใส่ขมิ้นนั้นได้กลายเป็นทองไปหมด ซึ่งทำให้ชายคนนั้นเป็นคนที่ร่ำรวยในเวลาต่อมา คนในสมัยก่อนจึงเรียกภูเขานั้นว่า เขาขมิ้น ตราบจนถึงปัจจุบัน  เขาขมิ้นนี้เป็นสัญลักษณ์ของบ้านบ่อเจ็ดลูก อยู่ตรงทางเข้าบ้านบ่อเจ็ดลูก ลักษณะคล้ายกับช้างกำลังหมอบเมื่อมองออกจากบ้านบ่อเจ็ดลูก
                ถ้ำลอดเสือสิ้นลาย    ชาวบ้านในชุมชนเล่าว่า มีเสือลายพาดกลอนตัวใหญ่ เป็นเสือที่ดุร้าย และมาชอบกินแพะของชาวบ้านอยู่เป็นประจำ อาศัยอยู่ในถ้ำในหมู่บ้าน ในคืนวันหนึ่งเป็นคืนเดือนมืด ฝนตกมาก เสือตัวนี้ได้ออกมาที่คอกแพะ พวกชาวบานก็ได้ใช้ปืนยิงแต่ยิงไม่ถูก เสือได้วิ่งหลบเข้าไปในถ้ำ รออยู่นานเสือก็ไม่ออกมา ชาวบ้านเลยนำซากแพะที่ตายแล้วมาวางล่อปากถ้ำ ครู่ใหญ่ต่อมาเสือจึงออกมาอีกครั้งหนึ่ง จนในที่สุดก็สามารถยิงเสือตัวนี้ได้ รุ่งเช้าชาวบ้านแห่กันไปดูเสือว่าตายแล้วหรือยัง เพราะเสือนอนหมอบอยู่ปากถ้ำคล้ายกับว่ายังมีชีวิตอยู่  จึงเรียกบริเวณที่เสือตายนี้ว่า ถ้ำลอดเสือสิ้นลาย
                ถ้ำฤาษี                   ปี พ.ศ. 2506 มีชายคนหนึ่งชื่ออุทัย  สุวรรณฤกษ์  เป็นคนจังหวัดพัทลุง ได้เดินทางลงไปยังเกาะอาดัง เพื่อไปธุดง และอาศัยอยู่บนเกาะอาดังเป็นเวลานาน หลังจากนั้นจึงได้อพยพมาอยู่ในถ้ำบ้านบ่อเจ็ดลูก  สมัยก่อนชาวบ้านเรียกถ้ำนี้ว่า ถ้ำเสือ เมื่อนายอุทัยมาพักจำศีลที่ถ้ำแห่งนี้ จึงเรียกถ้ำนี้ว่าถ้ำฤาษี จนถึงปัจจุบัน นายอุทัยจำศีลเป็นฤาษีอยู่ในถ้ำเป็นเวลานาน  ลักษณะของถ้ำเป็นโดม ความกว้างในถ้ำประมาณ 10 X 10 เมตร ภายในถ้ำเป็นอุโมงค์มีค้างคาว มีนกเข้าไปอาศัย พื้นของถ้ำเป็นดินเหนียว ฝนตกจะไม่เปียก คนสมัยก่อนเชื่อว่าสถานตรงนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มีคนมาขอจากเจ้าที่ให้หายป่วย ให้หายเจ็บ หายไข้ เมื่อกลับไป ก็หายเป็นปลิดทิ้ง เป็นความเชื่อของชาวบ้านที่เล่าขานกันมา
                ถ้ำทอง                   ถ้ำแห่งนี้อยู่ด้านหลังโรงเรียนบ้านบ่อเจ็ดลูก ห่างจากโรงเรียนไปประมาณ 200 เมตร ด้านใน มีหินย้อย สีเหลืองอร่ามสวยงามมาก มีความกว้างประมาณ 6 เมตร สองข้างทางที่เดินเข้าไปภายในถ้ำเป็นหินย้อยอยู่ทั้ง 2 ด้าน ความยาวจากปากถ้ำจนทะลุประมาณ 15 เมตร
                                หาดนุ้ย                  เป็นชายหาดที่มีความยาว 500 เมตร เป็นหาดทรายปกคลุมด้วยป่าไม้มีทิวทัศน์ที่สวยงามเหมาะแก่การท่องเที่ยว ชายหาดมีหินสลับกันทั้งก้อนเล็กก้อนใหญ่ คนในสมัยก่อนเมื่อหาหอยแล้วนำมาแกะที่ตรงนี้เรียกกันว่าทับหอย      ชายหาดนุ้ยเป็นส่วนหนึ่งของหาดกะสิงเพราะมีแนวอาณาเขตติดต่อกันเพียงแต่มีเขาขวางกั้น สามารถเดินถึงกันได้เมื่อเวลาน้ำลด ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของปากน้ำรีสอร์ท
ถ้ำช้างสามเศียร
ภายในถ้้ำมีหินงอกหินย้อยรูปร่างคล้ายหัวช้าง3หัว มีสีเหลืองทองอร่ามสวยงามมาก
                                ภูมิปัญญาท้องถิ่น
                การจับปลา เพราะชาวบ้านบ่อเจ็ดลูกส่วนใหญ่มีอาชีพประมง เมื่อออกทะเลจับปลา  ชาวประมงมักดูทิศทางลม ระดับน้ำในท้องทะเล ในการวางอวนแต่ละครั้งชาวประมงจะต้องรู้ลักษณะการเดินของน้ำ ซึ่งทำให้ฝูงของปลาเปลี่ยนไป การวางอวนต้องวางแบบขวางน้ำจึงจะได้ปลาเป็นลักษณะของธรรมชาติ และต้องรู้แหล่งอาศัยของปลาแต่ละชนิด ปลามักจะอยู่ที่ดอนทราย ถ้าเป็นกุ้งมักอาศัยดินที่เป็นโคลน ชาวบ้านมักจะจำลักษณะที่อยู่ของปลา และบอกต่อกันไปสู่ลูกหลานซึ่งเป็นวิธีการหาปลาของคนสมัยก่อนที่ใช้กันมา แต่ถ้าเป็นในปัจจุบันการจับปลาในเชิงพาณิชย์มักใช้ดาวเทียมค้นหาที่อยู่ของฝูงปลา และสามารถจับได้ง่าย
               
นวดแผนโบราณ ผู้มีความรู้ในด้านนี้มีอยู่ 2 คน คือ นายถวิล หมันดี และนายรอเฉด ขุนพล ทั้งสองเป็นคนพิการทางสายตา ได้ผ่านการอบรมจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสตูล จุดประสงค์ในการนวด คือ เพื่อคลายเครียด คลายเส้น รักษาอัมพฤกษ์ รักษาโรคเมื่อย การนวดฝ่าเท้า นวดขา และนวดทั้งร่างกาย เพื่อให้เส้นตื่นตัว ค่าบริการต่อครั้ง 100 บาท ใช้เวลา 1 ชั่วโมงกับ 45 นาที

                นอกเหนือจากนั้นยังมีภูมิปัญญาในเรื่องหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่น เย็บจาก เอาใบจากมาเย็บเพื่อนำไปมุงหลังคา 



หมวด วิทยาศาสตร์


หมวดวิทยาศาสตร์  ม.6/4
เรื่องการอนุรักษ์ และป้องกันธรรมชาติ
การอนุรักษ์
                การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด โดยใช้ให้น้อย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้ให้ยาวนาน และก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมทั้งต้องมีการกระจายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม ในสภาพปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมมากขึ้น ดังนั้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงมีความหมายรวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วย              การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสามารถกระทำได้หลายวิธี ทั้งทางตรงและทางอ้อม
1. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยทางตรง ซึ่งปฏิบัติได้ในระดับบุคคล องค์กร และระดับประเทศ ที่สำคัญ คือ
            1) การใช้อย่างประหยัด คือ การใช้เท่าที่มีความจำเป็น เพื่อให้มีทรัพยากรไว้ใช้ได้นานและเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
            2) การนำกลับมาใช้ซ้ำอีก สิ่งของบางอย่างเมื่อมีการใช้แล้วครั้งหนึ่งสามารถที่จะนำมาใช้ซ้ำได้อีก เช่น ถุงพลาสติก กระดาษ เป็นต้น หรือสามารถที่จะนำมาใช้ได้ใหม่โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การนำกระดาษที่ใช้แล้วไปผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อทำเป็นกระดาษแข็ง เป็นต้น ซึ่งเป็นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากรและการทำลายสิ่งแวดล้อมได้
            3) การบูรณซ่อมแซม สิ่งของบางอย่างเมื่อใช้เป็นเวลานานอาจเกิดการชำรุดได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีการบูรณะซ่อมแซม ทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้อีก
            4) การบำบัดและการฟื้นฟู เป็นวิธีการที่จะช่วยลดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรด้วยการบำบัดก่อน เช่น การบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ส่วนการฟื้นฟูเป็นการรื้อฟื้นธรรมชาติให้กลับสู่สภาพเดิม เช่น การปลูกป่าชายเลน เพื่อฟื้นฟูความ      สมดุลของป่าชายเลนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น
            5) การใช้สิ่งอื่นทดแทน เป็นวิธีการที่จะช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลงและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ใบตองแทนโฟม การใช้พลังงานแสงแดดแทนแร่เชื้อเพลิง การใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี เป็นต้น
            6) การเฝ้าระวังดูแลและป้องกัน เป็นวิธีการที่จะไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย เช่น การเฝ้าระวังการทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำ คูคลอง การจัดทำแนวป้องกันไฟป่า เป็นต้น

2.  การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยทางอ้อม สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
            1) การพัฒนาคุณภาพประชาชน โดนสนับสนุนการศึกษาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องตามหลักวิชา ซึ่งสามารถทำได้ทุกระดับอายุ ทั้งในระบบโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ และนอกระบบโรงเรียนผ่านสื่อสารมวลชนต่างๆ เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการอนุรักษ์ เกิดความรักความหวงแหน และให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง
            2) การใช้มาตรการทางสังคมและกฎหมาย การจัดตั้งกลุ่ม ชุมชน ชมรม สมาคม เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ตลอดจนการให้ความร่วมมือทั้งทางด้านพลังกาย พลังใจ พลังความคิด ด้วยจิตสำนึกในความมีคุณค่าของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่มีต่อตัวเรา เช่น กลุ่มชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนักเรียน นักศึกษา ในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร มูลนิธิโลกสีเขียว เป็นต้น
            3) ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ช่วยกันดูแลรักษาให้คงสภาพเดิม ไม่ให้เกิดความเสื่อมโทรม เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตในท้องถิ่นของตน การประสานงานเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับประชาชน ให้มีบทบาทหน้าที่ในการปกป้อง คุ้มครอง ฟื้นฟูการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
            4) ส่งเสริมการศึกษาวิจัย ค้นหาวิธีการและพัฒนาเทคโนโลยี มาใช้ในการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศมาจัดการวางแผนพัฒนา การพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ให้มีการประหยัดพลังงานมากขึ้น การค้นคว้าวิจัยวิธีการจัดการ การปรับปรุง พัฒนาสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน เป็นต้น
            5) การกำหนดนโยบายและวางแนวทางของรัฐบาล ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสันและระยะยาว เพื่อเป็นหลักการให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องยึดถือและนำไปปฏิบัติ รวมทั้งการเผยแพร่ข่าวสารด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งทางตรงและทางอ้อม

วิธีการรอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วิธีการอนุรักษ์ มีขั้นตอนดังนี้

    1) กำจัดการใช้ที่ไม่จำเป็นหรือมีแนวโน้มที่จะสูญเปล่า
    2) ดูแลรักษาทรัพยากรที่หายากหรือมีน้อย ให้อยู่ในสภาวะที่มากพอเสียก่อนจึงจะให้ใช้ทรัพยากรนั้น ๆ  ได้
    3) ผู้ใช้ทรัพยากรทั้งหลายควรตระหนักอยู่เสมอว่า ทรัพยากรแต่ละอย่างจะมีความสัมพันธ์ต่อกันยากที่จะแยกจากกันได้
    4) การเพิ่มผลผลิตของพื้นที่แต่ละแห่งควรจะต้องทำ
    5) ต้องพยายามอำนวยให้สภาวะต่าง ๆ ดีขึ้น
ทั้ง 5 ประการนี้เป็นสิ่งที่ควรจะได้กระทำ เพื่อให้การอนุรักษ์ได้ผลตามเจตนารมย์ โดยไม่ลืมว่าวัตถุประสงค์สุดยอดของการอนุรักษ์คือ ต้องทำให้โลกนี้ดี (Rich) ให้ผลผลิตเหมือนเมื่อพบครั้งแรก (Productive) พยายามอย่าให้โลกทรุดโทรมหรือขาดแคลนทรัพยากร ตามคำกล่าวสนับสนุนที่ว่า

                   
ชาติที่จะเจริญรุ่งเรืองนั้นต้องรู้ว่าจะผลิตและสร้างทรัพยากรอย่างไรโดย ปราศจากการทำลาย การอนุรักษ์จึงเป็นหัวใจของการพัฒนา
    การที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติให้ถูกต้องตาม หลักการอนุรักษ์นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา อีกทั้งต้องมีความสนใจต่อการดำเนินการต่าง ๆ ทั้งในด้านการปฏิบัติและการจัดการทรัพยากร รวมทั้งการขวนขวายหาความรู้ใหม่เพิ่มเติม เพื่อการคงไว้ซึ่งทรัพยากร ทั้งนี้การมีความรู้เรื่องการอนุรักษ์จะช่วยให้รู้จักการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติ โดยหลีกเลี่ยงการสูญเปล่า (Waste) และการทำลาย การสูญเปล่าตามหลักอนุรักษ์วิทยานั้น เกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ ขั้นผลิตกรรม (Production) และขั้นบริโภค (Consumption) แยกได้เป็น

1) การสูญเปล่าแบบสมบูรณ์ (Absolute Waste) ได้แก่การสูญเปล่าที่เกิดขึ้นแล้วไม่สามารถกลับคืน เช่น การพังทลายของดินจากทั้งลมและน้ำ
2) การสูญเปล่าแบบเพิ่มพูน (Waste Plus) เป็นขบวนการสูญเปล่าที่รุนแรงคือนอกจากสูญเสียทรัพยากรต่าง ๆ แบบสมบูรณ์แล้ว ยังมีผลทำให้สิ่งหรือขบวนการอื่น ๆ
    สูญเปล่าไปด้วย เช่น การเกิดไฟฟ้า ทำลายต้นไม้ในป่าและยังสูญเสียปริมาณสัตว์ป่า สูญเสียดินและอื่น ๆ
3) การสูญเปล่าแบบสัมพันธ์ (Relative Waste) ได้แก่ การสูญเสียที่เกิดจาก การแสวงหาสิ่งหนึ่ง แต่ทำให้เกิดผลเสียอีกอย่างหนึ่ง เช่น การทำเหมืองแร่ อาจทำให้เกิดการทำลายพืชพรรณธรรมชาติ
    ทำให้น้ำในลำธารขุ่นการเก็บของป่าอาจต้องทำลายหรือตัดฟันต้นไม้เพื่อให้ได้ มาซึ่งผลผลิตจากป่า อาทิ น้ำผึ้ง ยาสมุนไพร เป็นต้น
4) การสูญเปล่าแบบตั้งใจ (Organized Waste) ได้แก่การทำให้เกิดการสูญเปล่าโดยตั้งใจจะจัดการกับบางอย่าง เพื่อรักษาราคาหรือค่าทางเศรษฐกิจของทรัพยากรธรรมชาติ หรืออุตสาหกรรมไว้ให้ดีที่สุด
    เช่น การที่ประเทศบราซิลยอมทิ้งกาแฟลงในทะเลเพราะผลิตมากเกินไป จำเป็นต้องรักษาราคากาแฟให้เป็นไปตามต้องการ การเผาใบยาสูบทิ้งเพราะผลิตมากเกินไป การนำแอ๊ปเปิ้ลเทบนถนนให้รถบรรทุก
    บดเพื่อทำลาย เนื่องจากมีผลผลิตล้นตลาด